Jump Thailand Hackathon
top of page

จะดีแค่ไหน หากสังคมไทย เป็น Ageless Society  

      AIS Academy ร่วมมือกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กระทรวง พม.) โดย กรมกิจการผู้สูงอายุ และ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ระดมเป้าหมายสร้างสังคมไม่จำกัดวัย และเฟ้นหาวิธีการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงอายุและคนพิการผ่านโครงการ JUMP THAILAND HACKATHON 2024 โดยสนับสนุนการคิดค้นวิจัยเทคโนโลยีที่จะมาเติมเต็มในแบบฉบับ “Active Aging”

ในช่วงเวลาที่เทคโนโลยีวิวัฒนาการไปอย่างก้าวกระโดด จะทำอย่างไรให้ทุกคนในสังคมไทย สามารถก้าวไปพร้อมๆ กันและไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยเฉพาะกลุ่มประชากรที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง

AIS เล็งเห็นความพยายามขององค์กรต่างๆ ในการจัดการกับความท้าทายอันหลายมิติ ที่ผู้สูงวัยและคนพิการอาจจะต้องเผชิญ จึงร่วมมือกับ กระทรวง พม. เพื่อหาวิธีการยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มประชากรดังกล่าว ซึ่งรวมไปถึงผู้ติดเตียง ผู้พิการหรือกลุ่มเปราะบาง ผ่านโครงการ JUMP THAILAND HACKATHON 2024 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “ภารกิจคิดเผื่อ”

Picture1.png

โดยในหมวดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยในวัยชรานั้น ทางกรมกิจการผู้สูงอายุ ได้วางเป้าหมายและกลยุทธ์ เพื่อระดมแรงสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนต่างๆ ในการส่งเสริมการดูแลประชากรดังกล่าวในระดับประเทศ โดยเน้นเสริมสร้าง สุขภาพกาย สุขภาพใจ และความปลอดภัย อันเป็นแกนสำคัญในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงวัยมีส่วนร่วมทางสังคม พร้อมๆ กับหาวิธีคุ้มครองทางการเงิน เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถมีอิสระภาพและขีดความสามารถในการประกอบกิจการต่างๆในชิวิตประจำวันได้อย่างเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ และลดข้อจำกัดทางกายภาพให้มากที่สุด

 

การสร้างวัฒนธรรมที่เห็นคุณค่าในผู้สูงอายุ และสร้างความสามัคคีกันระหว่างรุ่นในการเห็นอกเห็นใจผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงนั้น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสังคมที่สำคัญ ซึ่งสามารถเป็นพลังขับเคลื่อนให้ภารกิจสังคมและวาระระดับประเทศนี้บรรลุผลในมุมกว้างได้ ด้วยเหตุนี้ ทาง AIS จึงหวังสร้างแรงบันดาลใจ

และเชื่อมต่อกับทุกภาคส่วน ทั้งในระดับผู้ประกอบการ นิสิต นักศึกษา ผู้คิดค้นวิจัยทางเทคโนโลยีต่างๆ และที่สำคัญ ในระดับสมาชิกครอบครัวหรือบุคคลใกล้ตัวของผู้สูงอายุเอง โดย AIS พร้อมร่วมศึกษา สนับสนุน ส่งต่อนวัตกรรมต่างๆ จะเข้ามาเป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือ ดูแลผู้สูงวัย

ตามกรอบ ที่กรมกิจการผู้สูงอายุได้วาดไว้ โดยมี แง่คิด มุมมอง และเป้าหมาย ดังนี้

Aging in Place

การชราวัยในสถานที่ที่คุ้นเคย

   ความสุขของผู้สูงอายุนั้น ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ การได้อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมเดิมที่คุ้นชิน อันจะนำมาซึ่งสุขภาพจิตที่ดี ส่งผลมาถึงสภาพร่างกายที่พร้อมสำหรับการดูแลตัวเอง ดังนั้นหากครอบครัวเข้าใจถึงข้อนี้ และสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในบ้านที่จะเป็นตัวช่วยดูแลผู้สูงอายุได้

อาทิ Smart Home Device และ Home Monitoring Camera เป็นต้น โดยอุปกรณ์ดิจิทัล เหล่านี้ จะสามารถให้อิสระแก่ผู้สูงวัยและผู้ดูแลรอบข้างได้ใช้ชีวิตประจำวันอย่างสะดวก ปลอดภัย ในสภาพแวดล้อมที่พวกเขาคุ้นเคย ตามคอนเซปต์ Aging in Place

Picture2.png
Picture3.png

Social Participation
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางสังคม

      อีกหนึ่งปัจจัยที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยได้อย่างมีความหมาย คือการสนับสนุนให้พวกเขามีส่วนร่วมทางสังคม ซึ่งนอกจากจะช่วยบรรเทาความเหงาแล้ว ยังเป็นการสร้างคุณค่าให้แก่พวกเขาด้วยว่า ยังสามารถมีบทบาทในชุมชนอย่างสมเกียรติ จากโอกาสที่จะนำเอาทักษะ และประสบการณ์ชีวิตที่สะสมมาให้เกิดประโยชน์ หรือ แม้แต่ความบันเทิงต่อสังคม

การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ทั้งในและนอกบ้าน สามารถลดความเสี่ยงต่อสภาวะซึมเศร้า ป้องกันความรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดาย และสร้างจุดมุ่งหมายให้กับผู้สูงวัยที่ล้วนต่างต้องการดำเนินชีวิตบั้นปลายอย่างสมบูรณ์และมีเกียรติ

 

 

     การสร้างสภาพแวดล้อมของถิ่นฐานที่พักอาศัยอันมั่นคง ปลอดภัย ทั้งในบ้านและนอกบ้านนั้น ถือเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลผู้สูงวัยเช่นกันเพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความมั่นใจในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดี ครอบคลุมไปถึงการเพิ่มคุณภาพการให้บริการ สาธารณูปโภคทั้งในและนอกบ้าน เพราะไม่เพียงแต่จะมอบความอุ่นใจและความสะดวกสบายให้แก่ผู้สูงวัยแล้ว ยังจะเป็นการชักจูงให้กลุ่มดังกล่าว กล้าปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ นอกบ้าน และดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่าง active ตามเป้าหมายของกรมกิจการผู้สูงอายุที่อยากให้ผู้สูงวัยในไทยสามารถชราวัยในบริบท Active Aging

 

Environmental Security

ความมั่นคงและความปลอดภัยทางสภาพแวดล้อม

 

      การดูแลจัดการ และตอบรับความต้องการอันซับซ้อนในการดำเนินชีวิตในวิถีชราวัย ต้องใช้แนวทางหลายมิติ และมีการร่วมมือกันระหว่างหลายภาคส่วน ทั้งในระดับครอบครัว โรงพยาบาล สถานพยาบาล สถานดูแลคนชรา โดยบุคคลที่มีหน้าที่ดูแลประจำบ้านหรือประจำชุมชนในตำแหน่ง บริบาล (caregiver) นักสังคมสงเคราะห์ (social worker) แพทย์ และพยาบาล จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างละเอียดและมีประสิทธิภาพ หากมีการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการสื่อสารอย่างเป็นอนุภาพระหว่างแต่ละหน่วย เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดูแลรักษา เป็นหูเป็นตาให้กันไม่เพียงแต่เฉพาะกลุ่มครอบครัว แต่เติมเต็มเป้าหมายในระดับภาครัฐ และเอกชน

Multi-Level Collaboration
ความพยายามร่วมมือกันระหว่างหลายภาคส่วนเพื่อค้นหาวิธีการดูแลแบบมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

Picture4.png

 

แม้ว่าเทคโนโลยีจะมอบประโยชน์มากมาย แต่ก็ยังมีความท้าทายที่อาจทำให้ผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ตกเป็นเหยื่อได้ หากไม่รู้เท่าทัน โดยเฉพาะความเสี่ยงในรูปแบบของการฉ้อโกงทางดิจิทัลที่มุ่งเป้าไปที่ผู้สูงวัย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีความเปราะบางทางด้านกำลังทรัพย์เป็นพิเศษ และอยู่ในภาวะที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น การจัดการกับช่องว่างทางดิจิทัลและสร้างความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือเหล่านี้ จึงถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อลดการฉวยโอกาสของ cyber crime ที่หลายคนในกลุ่มผู้สูงวัยต้องเผชิญ 

Digital Security และ Financial Fraud 
ช่องว่างทางเทคโนโลยีและความกังวลด้านความปลอดภัยในโลกดิจิทัล

Picture5.png

 

การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการบริการตรวจสอบสุขภาพกาย สุขภาพใจ และสุขภาพด้านการเงิน โดยให้บริการอย่างปลอดภัยถึงบ้าน เป็นสิ่งสำคัญในการบรรลุเป้าหมายนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงวัย ตั้งแต่อุปกรณ์ตรวจสอบสุขภาพไปจนถึงแพลตฟอร์มดิจิทัลที่อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการและกิจกรรมทางสังคมต่างๆ หรือแม้แต่นวัตกรรมทางด้านการเงินส่วนตัว เทคโนโลยี สามารถตอบโจทย์วิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ แต่สามารถเปิดช่องทางให้ผู้สูงวัยตกเป็นเหยื่อกลุ่มมิจฉาชีพด้วยเช่นกัน ดังนั้น นวัตกรรมทางเทคโนโลยี ที่จะมาช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ ถือเป็นกุญแจสำคัญ ในการรองรับการชราวัยแบบ Ageless Society บนพื้นฐานระบบดิจิทัลที่ให้ ความเชื่อมั่น ปกป้อง และคุ้มครอง

บทบาทของเทคโนโลยี

bottom of page