ข้อมูลโครงการ | JumpThailand Hackathon
top of page

AIS Academy ได้จัดกิจกรรม Jump Thailand Hackathon
เพื่อมุ่งหวังที่จะยกระดับคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุและคนพิการด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี

 

โดยร่วมมือกับกรมกิจการผู้สูงอายุ และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)

ตัวอย่างกลุ่มเป้าหมาย

  1. ทุกเพศ อายุ 70 ปี+ เป็นหม้าย/โสด อยู่ในสังคมเมือง ใช้เบี้ยผู้สูงอายุ ไม่มีรายได้ ขาดคนดูแล

  2. ทุกเพศ อายุน้อยกว่า 70 ปี เป็น 5 โรคพื้นฐาน อยู่ในเมือง อารมณ์แปรปรวน อาศัยอยู่กับคนต่างวัย ขาดความเข้าใจกัน

  3. ทุกเพศ อายุ 60 ปี+ เป็นโสด ไม่มีลูก/ หรือมีลูกจำนวนน้อย ลูกไม่ดูแล อยู่ในสังคมเมือง คนในละแวกบ้านมีลักษณะต่างคนต่างอยู่

  4. ทุกเพศ อายุ 60 ปี+ ลูกไม่ค่อยมีเวลาให้ ต้องไปรพ.บ่อย ต้องจ้างคนดูแลเป็นครั้งๆ อยู่ในเมือง ค่าครองชีพสูง

ตัวอย่างกลุ่มเป้าหมาย

  1. ทุกเพศ อายุ 60 ปี+ อยู่คนเดียว ไม่มีคนดูแล ไม่ได้ทำบัตรประชาชนมานาน ไร้สถานะทางทะเบียน ขาดสิทธิและสวัสดิการ 

  2. ทุกเพศ อายุ 60 ปี+ อยู่คนเดียว  ต้องการรายได้เพิ่ม มีประสบการณ์ในการทำงาน แต่ไม่ค่อยมีบริษัทรับเพราะอายุมาก ขาดความรู้ในการประกอบอาชีพใหม่

  3. ทุกเพศ อายุ 60 ปี + อยู่คนเดียว รายได้ไม่เพียงพอ เป็นแรงงานนอกระบบ ขาดความรู้ในการประกอบอาชีพ ขาดการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ

  4. ทุกเพศ อายุ 70 ปี + อยู่คนเดียว  รายได้น้อย ใช้เวลาในการทำงานมากขึ้นหรือไม่สามารถทำงานต่อเนื่องหลายชั่วโมงได้ ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยได้ช้า 

Ais_Illustration_01-03.png

ตัวอย่างกลุ่มเป้าหมาย

  1. คนพิการ วัยแรงงาน อายุ 18-59 ปี ไม่มีวุฒิการศึกษา ขาดทักษะการประกอบอาชีพ 

     ใช้เบี้ยคนพิการ รายได้ไม่เพียงพอ  ไม่สามารถเข้าถึงสถานฝึกอบรมอาชีพสำหรับ         

     คนพิการ เพราะสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย เข้าไม่ถึงแหล่งงาน

  2. คนพิการ วัยแรงงาน อายุ 18-59 ปี มีวุฒิการศึกษา มีทักษะการประกอบอาชีพ       

     มีข้อจำกัดด้านการเดินทางไปทำงาน ต้องหาสถานที่ทำงานใกล้บ้านที่มีสภาพแวดล้อม

     เอื้ออำนวยกับคนพิการเท่านั้น

Ais_Illustration_01-05.png
Ais_Illustration_01-02.png

ตัวอย่างกลุ่มเป้าหมาย

  1. คนพิการ ทุกเพศ ทุกวัย ถูกทอดทิ้ง อยู่ในครอบครัวที่ยากจน คนดูแลขาดความรู้ในการดูแลคนพิการยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนรับสวัสดิการรัฐ

  2. คนพิการ ทุกเพศ​ ทุกวัย ไม่มีรายได้ ยากจน มีหนี้ ขาดความรู้ อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ถูกทอดทิ้ง อยู่ลำพัง ได้รับเบี้ยยังชีพ 800 บาท/เดือน

  3. คนพิการ สภาพติดเตียง ทุกช่วงวัย ทุกเพศ มีรายได้ จ้างคนดูแลได้     

     ต้องใช้ยานพาหนะเฉพาะในการเดินทางไป รพ.

 4.  คนพิการ สภาพติดเตียง ทุกช่วงวัย ทุกเพศ ไม่มีรายได้ จ้างคนดูแลไม่ได้

     ต้องวานคนในครอบครัวมาช่วยเป็นครั้งๆ ได้รับเบี้ยยังชีพ 800 บาท/เดือน

     ไม่มีอุปกรณ์ช่วยเหลือในการเดินทางไปรพ.

หรือ ดูข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และคนพิการได้ที่

รางวัล

รางวัลชนะเลิศ 
ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยาม
บรมราชกุมารี

พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท
างวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 60,000 บาท 

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 40,000 บาท
 

ผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้ง 15 ทีมจะได้รับเกียรติบัตรดิจิทัล (Digital Badge)  

*พร้อมโอกาสในการร่วมงานกับ AIS และการพัฒนาโครงการให้เกิดขึ้นจริงร่วมกับกระทรวง พม

รายละเอียดการเข้าร่วมโครงการ

1. นิสิต นักศึกษาปริญญาตรีในทุกระดับชั้น จากมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และศึกษาอยู่ในสาขาด้านเทคโนโลยี หรือ

   สาขาที่เกี่ยวข้อง

2. มีสมาชิกในทีม ทีมละ 3-4 คน (สามารถคละสาขาวิชาได้) และจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญ / อาจารย์ที่ปรึกษา / นักวิจัยเป็นที่ปรึกษา

   ประจำทีม 1 ท่าน

3. วันนำเสนอผลงาน (Demo Day) สามารถนำเสนอนวัตกรรมต้นแบบ (Prototype) ที่สามารถสาธิตการทำงานต่อหน้าคณะ

   กรรมการในระยะเวลาที่กำหนดได้

 

สมัครได้ตั้งแต่  13 มีนาคม - 10 พฤษภาคม 2567

ระยะเวลาเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ พฤษภาคม - กรกฎาคม 2567

 

กติกาและเงื่อนไขในการรับสมัคร

1. ผลงานที่ส่งประกวดต้องเป็นผลงานที่คิดค้น พัฒนาด้วยตนเอง หรือต่อยอดจากงานเดิมที่มีอยู่ โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบจากผู้อื่น 

   ขอสงวนสิทธิ์เรียกคืนรางวัลทั้งหมด หากตรวจพบภายหลังว่าผลงานที่ส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลนั้นเป็นผลงานของผู้อื่น 

2. ผลงานที่ส่งประกวดต้องไม่เป็นผลงานที่เคยได้รับรางวัลระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ 

3. ผลงานที่ส่งประกวดจะต้องสอดคล้องกับโจทย์การแข่งขัน และสามารถนำไปใช้ได้จริง 

4. ผลงานจะต้องมีความใหม่ในเชิงการบริการ กระบวนการ วิธีการแก้ปัญหา หรือการออกแบบรูปแบบผลิตภัณฑ์ และสร้างให้เกิด

   คุณค่า และเกิดประโยชน์ต่อผู้สูงอายุและคนพิการของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม 

5. ผลงานที่นำเสนอจะต้องมีต้นแบบ (Prototype) ที่สามารถสาธิตการทำงานในวันนำเสนอผลงาน (Demo Day) ได้ 

6. ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเข้าร่วมตลอดโครงการ ฯ ณ สถานที่จัดงาน มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ 

7. ห้ามนำผลงานหรือแนวคิดส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดของบุคคลอื่น หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นมาส่งเข้าประกวด มิฉะนั้นจะถูก

   ตัดสิทธิ์จากการประกวดทันที ผู้จัดการประกวด ฯ ไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นในกรณีที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

   หากผลงานที่ได้รับรางวัลเมื่อเผยแพร่แล้วมีบุคคลอื่นโต้แย้งทรัพย์สินทางปัญญาในผลงาน 

8. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องรับผิดชอบต่อทรัพย์สินทางปัญญาของข้อมูล ได้แก่ เนื้อหา ภาพ เสียง คลิปวิดีโอ ซอฟต์แวร์ หรือ

   อื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงานโดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา และมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มา

   อย่างชัดเจน 

9. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด 

10. ทรัพย์สินทางปัญญาของผลงานนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการแข่งขัน 

    10.1 บริษัทฯ สามารถนำผลงานไปใช้ เผยแพร่ และไปต่อยอดพัฒนาเป็นสินค้า และ/หรือบริการ เพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้าได้ และ

          สามารถนำไปเสนอหรือไปดำเนินการโครงการต่าง ๆ ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ 

    10.2 ผู้เข้าแข่งขันไม่สามารถนำผลงานดังกล่าวไปใช้ เปิดเผย และ/หรือ นำไปพัฒนาร่วมกับบริษัทที่เป็นคู่แข่งทางการค้าของ AIS

          และ/หรือบริษัทในเครือ เป็นระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่สิ้นสุดโครงการ  

ระยะเวลาโครงการ

รายละเอียด
ระยะเวลา

เกณฑ์การคัดเลือก

1. Problem Insight and Market Demand ( 30% )

  • Trustable ข้อมูลที่มาและความสำคัญมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

  • Current Data ความปัจจุบัน ของข้อมูลที่นำมาใช้

  • Statistic มีการอ้างอิงข้อมูลในเชิงสถิติ

  • Target Clarify สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน

2. Tech Integration and Strategic Direction ( 35% )

  • Digitalize แนวคิดของนวัตกรรม มีการนำเอาดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้

  • AIS Technology ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีของ AIS

  • Completed M-Society's Challenge แนวคิดตอบโจทย์ของกระทรวง พม.

  • Prototype Possibility ความเป็นไปได้ในการเป็น Prototype ในวัน Hackathon

3. Impact and Feasible ( 20% )

  • Big Move ไอเดียที่นำเสนอสามารถแก้ไขปัญหากลุ่มเป้าหมายได้ในเชิงพฤติกรรม 

  • Target Attractiveness กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงไอเดียการแก้ไขปัญหาได้ง่าย

4. Team Member and Entrepreneurship ( 10% )

  • Team member experiences ทีมมีความรู้ความสามารถที่จะทำสิ่งนี้ให้สำเร็จได้

5. Presentation ( 5% )

  • Professional & Creativity นำเสนอได้อย่างเข้าใจและมีความคิดสร้างสรรค์

AIS Technology

Technology
Description
URL
5G sim
"5G" เทคโนโลยีที่มาพร้อมกับความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ และการต่อเชื่อมได้กับอุปกรณ์จำนวนมาก
https://business.ais.co.th/5g/
DEVIO BEACON
DEVIO BEACON อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ตัวแรกในประเทศไทยที่ผ่านการทดสอบและรับรองจาก LINE Thailand อย่างเป็นทางการ โดยอุปกรณ์สามารถสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลได้ ผ่าน LINE Official Account ช่วยพัฒนารูปแบบการเชื่อมต่อระหว่างออฟไลน์ และออนไลน์ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
https://www.aisdevio.com/Developer
NB-DEVKIT
NB-DevKit IoT Devkit ที่ใช้ NB-IoT ส่งข้อมูล
https://www.ais.th/consumers/store/accessories/devio/devio-nb-devkit-i?capacity=&color=&campaign=&compCode=&plan=&extsrc=false
DEVIO CONNEXT
CMS สำหรับ Config Message ที่ต้องการส่งข้อมูลผ่าน DEVIO Beacon
https://sites.google.com/view/devioconnext/
Magellen platform
IoT Platform ที่จะทำหน้าที่แสดงผลของพวกค่า Sensor ต่างๆที่ IoT device ส่งมา
https://magellan.ais.co.th/
API : OTP
การเชื่อมต่อ API นี้ระบบของคุณจะสามารถส่งรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียวให้ลูกค้าของคุณเพื่อเป็นการยืนยันตัวตนในการเข้าใช้งานระบบหรือทำธุรกรรมต่างๆในระบบ ทำให้เพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานระบบของคุณได้มากขึ้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับเบอร์มือถือทุกเครือข่าย
https://aisplayground.ais.co.th/marketplace/products/s9XAI5U8YI5
API : SMS
การเชื่อมต่อ API ที่จะทำให้ระบบของคุณสามารถส่งข้อความไปยังลูกค้าในรูปแบบของ SMS ซึ่งสามารถใช้ได้กับลูกค้าทุกเครือข่าย และสามารถส่งง่ายถึงมือถือได้ทุกเครื่องไม่ว่าลูกค้าของคุณจะใช้ Smart Phone หรือไม่ ทำให้คุณสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของคุณ
https://aisplayground.ais.co.th/marketplace/products/gntwvI9YudG
API : Number Verification
ทำให้การยืนยันตัวตนด้วยเบอร์โทรศัพท์ง่ายและปลอดภัยมากขึ้น โดยระบบจะทำการตรวจสอบและยืนยันเลขหมายโทรศัพท์ให้ทันทีโดยลูกค้าไม่จำเป็นต้องใส่ Verification Password จึงช่วยลดขั้นตอนการใช้งานและลดความเสี่ยงในการแสดง Password ให้ผู้อื่นเห็น
https://www.ais.th/en/business/enterprise/technology-and-solution/communication/ais-open-api
API : SIM Swap
ตรวจสอบการประวัติการเปลี่ยน SIM เพื่อป้องกันการโจรกรรมโดยการปลอมแปลงการเปลี่ยนซิมของลูกค้า ซึ่งเป็นเทคนิคที่อาชญากรนิยมใช้ในการขโมยเลขหมายไปใช้ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่างๆเพื่อยักยอกทรัพย์สิน บริการนี้จึงช่วยลดความเสี่ยงและช่วยให้เจ้าของเลขหมายมีเวลามากพอที่จะรู้ตัวและแจ้งแก้ไขปัญหาได้
https://www.ais.th/en/business/enterprise/technology-and-solution/communication/ais-open-api
bottom of page